Monday, May 30, 2011

ลงคะแนนอย่างไรไม่ให้บัตรของเรากลายเป็น "บัตรเสีย"

ลงคะแนนอย่างไรไม่ให้บัตรของเรากลายเป็น "บัตรเสีย"

ในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎคม 2554 นี้ จะมีการเลือกตั้ง ส.ส.ในสองแบบคือ แบบแบ่งเขต กับ แบบสัดส่วน ซึ่งคุณซึ่งมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในวันนั้น จะได้รับบัตรลงคะแนน 2 ใบมีสีต่างกัน ใบหนึ่งสำหรับลงคะแนนเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต กับอีกใบสำหรับลงคะแนนเลือก ส.ส. แบบแบ่งส่วนค่ะ ก่อนเข้าคูหาคิดให้ดีๆนะคะว่าอยากจะลงคะแนนให้ผู้สมัครหมายเลขอะไรบ้าง พอ เข้าคูหาก็กาให้ครบตามจำนวน ส.ส อย่าลืมคิดมาล่วงหน้าค่ะ ว่าเขตเลือกตั้งของตนมี ส.ส.แบบแบงเขตได้กี่คน จะเลือก ส.ส. คนไหน หมายเลขอะไร กับจะเลือกพรรคอะไร หมายเลขอะไรสำหรับแบบสัดส่วน
ประชาชน ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทุกคน ควรต้องเข้าใจก่อนว่าเวลาเข้าไปในคูหาแล้วเรามีสิทธิที่จะกาเลือกใครอย่างไร มีหลักดังนี้ค่ะ

Do ทำแบบนี้

1. นำ บัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่ราชการออกให้และยังไม่หมดอายุ ซึ่งมีจะต้องมีหมายเลขบัตรประชาชนและภาพถ่ายของคุณอยู่ในบัตรนั้นมาแสดงตน ต่อ กรรมการเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิ สำหรับ บัตรประชาชนที่หมดอายุ กกต บอกไว้ว่าสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานยืนยันตนเองในการใช้สิทธิได้ แต่ไม่แน่ใจว่า กรรมการในหน่วยเลือกตั้งจะยอมปล่อยให้ง่ายๆหรือไม่ ถ้าบัตรหมดอายุเพราะยังไม่ถึงเดือนเกิดของเจ้าของบัตรก็คงจะไม่มีปัญหา-ผู้ เขียน)
2. ใช้บัตรที่ได้รับมาอย่างถูกวิธีจากคณะกรรมเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่คุณมีสิทธิเท่านั้น
3. อ่านด้านหน้าบัตรลงคะแนนว่าเป็นบัตรสำหรับเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต หรือ แบบสัดส่วน
4. วิธีการกาบัตรลงคะแนน
4.1 การกาบัตรลงคะแนนแบบแบ่งเขต

a กรณีใช้สิทธิ ลงคะแนนใน บัตรลงคะแนนแบบแบ่งเขต ให้กาเครื่องหมาย ‘X’ (กากบาท) ในช่องลงคะแนนตามหมายเลขผู้สมัครจนครบจำนวน ส.ส. ที่เขตเลือกตั้งของคุณต้องมี

4.2 การกาบัตรลงคะแนนแบบสัดส่วน

a กรณีใช้สิทธิ ลงคะแนนในบัตรลงคะแนนแบบสัดส่วน ให้กาเครื่องหมาย ‘X’ (กากบาท) ในช่องลงคะแนนตามหมายเลขพรรค เพียง 1 หมายเลขเท่านั้น

5. หย่อนบัตรแต่ละสีลงในหีบที่ถูกต้องด้วยตัวเอง ดูให้แน่ใจว่าบัตรหล่นลงไปเรียบร้อยจึงเดินออกจากคูหา

Don’t ไม่ทำแบบนี้
1. อย่า ปลอมบัตร อย่ารับบัตรปลอม อย่ากาในบัตรปลอม อย่าแอบนำบัตรปลอมมาใส่ในหีบ อย่าแอบนำบัตรปลอมมามั่วให้นับคะแนน จะมีความผิดทางอาญาด้วย

2. อย่ากามั่ว เช่น

2.1. กามากกว่า 1 หมายเลขในบัตรลงคะแนน ส.ส.แบบสัดส่วน
2.2. กาเกินจำนวน ส.ส. ของเขตตัวเองในบัตรลงคะแนน ส.ส. แบบแบ่งเขต
2.3. กาคร่อมช่องคะแนนจนไม่รู้ว่าเลือกหมายเลขอะไร
2.4. กานอกช่องที่ให้กาเครื่องหมาย
2.5. กา ทั้งหมายเลข กาทั้งช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน (เช่น ถ้าในเขตมี ส.ส. ได้ 2 คน แล้วต้องการลงคะแนนให้เพียง 1 คน ที่เหลือไม่อยากลงคะแนนให้

3. อย่าทำเครื่องหมายใดๆในบัตรลงคะแนน นอกจากเครื่องหมาย กากบาท ในช่องลงคะแนน หรือ ช่อง ไม่ประสงค์จะลงคะแนน

4. อย่าหย่อนบัตรลงคะแนนเปล่าโดยไม่กา

5. อย่าฉีกบัตรลงคะแนน

6. อย่าให้คนอื่นหย่อนบัตรแทน

7. อย่านำบัตรลงคะแนนออกจากคูหา

8. อย่าถ่ายรูปบัตรลงคะแนนที่กาแล้วไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น



อีกข้อหนึ่ง คืออย่ากาให้คนหรือพรรคที่ทุจริตในการเลือกตั้ง แม้จะไม่ทำให้บัตรเสีย แต่ผลของมันจะทำให้บ้านเมืองเสียค่ะ การโกงคะแนนเลือกตั้งทำได้สารพัดวิธี ..ประชาชนต้องรู้ทัน.. เขานะคะ

ฝากไว้ให้คิด

อย่าทำให้บัตรสีของเรากลายเป็นบัตรเสีย เพราะบัตรเสียคือ "บัดสี" หมาย ถึงอายเขานะคะ ถึงจะไม่รู้ว่าใครทำบัดสี (บัตรเสีย) ก็ต้องอายหากใครเขาจะมองว่าคนในพื้นที่ของหน่วยเลือกตั้งนั้นไม่รู้เรื่อง รู้ราวให้สมกับยุคส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองเอาเสียเลย ต้องตำหนิทั้งตัวเอง ตำหนิเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตำหนิญาติพี่น้อง ตำหนิคนในหมู่บ้านที่ไม่ช่วยกันให้ความรู้สามีภรรยาลูกหลานพ่อแม่พี่น้องน้า อาลุงป้าปู่ย่าตายายเขยสะใภ้กันให้ดี ว่าไหมคะ?

.

บัตรเลือกตั้งที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย

(๑) บัตรปลอม
(๒) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายลงคะแนนเลือกตั้ง
(๓) บัตร เลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้ สมัครเกินกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะพึงมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น หรือบัตรเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนเลือกเกินกว่าหนึ่งพรรค การเมือง
(๔) บัตร ที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนเลือกตั้งให้กับผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งผู้ ใดเลย หรือพรรคการเมืองที่ส่งสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนของ พรรคการเมืองใด
(๕) บัตร ที่ได้ทำเครื่องหมายลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เลือกตั้งหรือแบบสัดส่วน แล้วทำเครื่องหมายในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งด้วย
(๖) บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาท
(๗) บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนนอกช่อง “ทำเครื่องหมาย” หรือนอกช่อง“ไม่ประสงค์ลงคะแนน”
(๘) บัตร เสีย ตามมาตรา ๑๐๒ และมาตรา ๑๑๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ. ๒๕๕๐

บทลงโทษ

มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดจงใจกระทำด้วยประการใด ๆ ให้บัตรเลือกตั้งชำรุดหรือเสียหาย หรือให้เป็นบัตรเสีย หรือกระทำด้วยประการใด ๆ แก่บัตรเสียเพื่อให้เป็นบัตรที่ใช้ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

ถ้า ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี

ที่มา: เรียบเรียงจาก พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ. 2550

No comments:

Post a Comment